วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว
ชื่อสามัญ ; Malayan Porcupine
ชื่อวิทยาศาสตร์ ; Hystrix brachyura

ลักษณะทั่วไป
 
มี ลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้าสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน นิสัย
สามารถ ปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้

ถิ่นอาศัย

พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว

อาหาร

 

ผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ เขาสัตว์

การสืบพันธุ์

เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น