วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วงศ์นกกระจอก

วงศ์นกกระจอก

นกขนาดเล็กถึงขนาดกลาง รูปร่างสั้นกะทัดรัด ปากรูปกรวยกว้างเป็นการปรับตัวเพื่อกินเมล็ดพืชหรือเมล็ดข้าวโดยเฉพาะ หางบากเป็นแฉก
ทำ รังรูปโดมหลวมๆทั้งในโพรงหรือตามกิ่งไม้ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงและมักจะพบทำรังรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ หลายชนิดมีลักษณะของตัวผู้กับตัวเมียที่แตกต่างกันโดยเฉพาะสีสันของขน ทั่วโลกมี 43 ชนิด พบในเมืองไทย 4 ชนิด

ภาพประกอบ ;
นกกระจอกตาล
นกกระจอกใหญ่
นกกระจอกตาล

ช้าง

 ช้าง 
ลักษณะทั่วไป
ตัวผู้มีงาเรียกว่า "ช้างพลาย" แต่บางตัวไม่มีงาเรียก "ช้างสีดอ" ตัวเมียปกติไม่มีงาเรียก "ช้างพัง" แต่บางตัวอาจมีงาสั้น ๆ เรียกว่า "ขนาย" หนังบริเวณลำตัวหนาราว 1.9-3.2 เซนติเมตร เป็นสัตว์กระเพาะเดียว งาคือฟันตัดที่เปลี่ยนแปลงไป จมูกเป็นงวงยาว หลังโก่งโค้งเป็นรูปโดมตลอดแนวหลัง เท้าหน้ามีเล็บ 5 เล็บ เท้าหลังมี 4 เล็บ ปลายงวงมีติ่ง น้ำหนักประมาณ 3-4 ตัน

ลักษณะนิสัย

ชอบอยู่รวมกันเป็นโขลง ตัวผู้หลังจากที่โตเป็นหนุ่มพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้ ในช่วงที่ตกมันไม่สามารถใช้งานได้ มีอาการดุร้ายไม่อยู่นิ่ง และจะมีปัสสาวะไหลหยดตลอดเวลา และมีกลิ่นเหม็นมาก อาการตกมันนี้จะกินเวลาหลายวันจนถึงหลายเดือน ตัวเมียน้อยมากที่จะมีน้ำมันออกมา โขลงหนึ่งอาจมีจำนวน 5-20 ตัว จ่าฝูงมักเป็นตัวเมียที่มีอายุมาก ไม่ทนร้อน ชอบอยู่ในป่าทึบบริเวณที่มีอากาศชุ่มเย็น ชอบเล่นน้ำ ทั้งชอบกินดินโป่งด้วย นอนหลับได้ทั้งท่ายืนและนอนตะแคง

ถิ่นอาศัย

ช้างเอเชียพบในเนปาล บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร มาเลเซีย สุมาตรา ส่วนช้างแอฟริกาพบในทวีปแอฟริกา
 
อาหาร
ได้แก่ หญ้า ใบไม้ หน่อไม้อ่อน ต้นไผ่อ่อนและใบไผ่ชอบกินมาก หน้าแล้งชอบกินใบตอง หยวกกล้วยเป็นพิเศษ
 
การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุได้ 8 -12 ปี ตั้งท้องนาน 19 -21 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว อายุยืนประมาณ 70 ปี

เม่นใหญ่แผงคอยาว

เม่นใหญ่แผงคอยาว
ชื่อสามัญ ; Malayan Porcupine
ชื่อวิทยาศาสตร์ ; Hystrix brachyura

ลักษณะทั่วไป
 
มี ลำตัวค่อนข้างใหญ่กว่าเม่นชนิดอื่น มีขนบนสันคอเป็นเส้นอ่อน ๆ ตั้งขึ้นดูคล้ายกับแผงคอ ขนตามลำตัวท่อนหน้าสีน้ำตาลไหม้เป็นขนค่อนข้างสั้น ส่วนขนตามลำตัวท่อนหลังเป็นขนยาวมีสีขาวและมีวงรอบขนสีดำอยู่กลางขน นิสัย
สามารถ ปรับตัวให้อาศัยในหลากหลายสภาพแวดล้อม หากินเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบอยู่ในโพรงดิน เมื่อพบศัตรูจะแสดงอาการขู่ โดยกระทืบเท้า ตั้งขนขึ้นและหางทำให้เกิดเสียงดัง เม่นไม่สามารถสลัดขนไล่ศัตรูได้

ถิ่นอาศัย

พบในป่าทุกชนิด อาศัยตามโพรงดิน ซอกหินตามป่า ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ สุมาตรา บอร์เนียว

อาหาร

 

ผัก หญ้า เผือก มัน หน่อไม้ เปลือกไม้บางชนิด ผลไม้ กระดูกสัตว์ เขาสัตว์

การสืบพันธุ์

เริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่ออายุ 2 ปี ระยะตั้งท้องนาน 4 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

สัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์)เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ
สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยัง ช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ